มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นต้นไป
จังหวัด | ก่อนปรับ | เพิ่มขึ้น | หลังปรับ |
กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ภูเก็ต | 300 | 0 | 300 |
ชลบุรี | 273 | 27 | 300 |
ฉะเชิงเทรา สระบุรี | 269 | 31 | 300 |
พระนครศรีอยุธยา | 265 | 35 | 300 |
ระยอง | 264 | 36 | 300 |
พังงา | 259 | 41 | 300 |
ระนอง | 258 | 42 | 300 |
กระบี่ | 257 | 43 | 300 |
นครราชสีมา ปราจีนบุรี | 255 | 45 | 300 |
ลพบุรี | 254 | 46 | 300 |
กาญจนบุรี | 252 | 48 | 300 |
เชียงใหม่ ราชบุรี | 251 | 49 | 300 |
จันทบุรี เพชรบุรี | 250 | 50 | 300 |
สงขลา สิงห์บุรี | 246 | 54 | 300 |
ตรัง | 244 | 56 | 300 |
นครศรีธรรมราช อ่างทอง | 243 | 57 | 300 |
ชุมพร พัทลุง เลย สตูล สระแก้ว | 241 | 59 | 300 |
ประจวบคีรีขันธ์ ยะลา สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี | 240 | 60 | 300 |
นราธิวาส อุดรธานี อุบลราชธานี | 239 | 61 | 300 |
นครนายก ปัตตานี | 237 | 63 | 300 |
ตราด บึงกาฬ ลำพูน หนองคาย | 236 | 64 | 300 |
กำแพงเพชร อุทัยธานี | 234 | 66 | 300 |
กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยนาท สุพรรณบุรี | 233 | 67 | 300 |
เชียงราย นครสวรรค์ บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ ยโสธร ร้อยเอ็ด สกลนคร | 232 | 68 | 300 |
ชัยภูมิ มุกดาหาร ลำปาง สุโขทัย หนองบัวลำภู | 230 | 70 | 300 |
นครพนม | 229 | 71 | 300 |
พิจิตร พิษณุโลก แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน อำนาจเจริญ อุตรดิตถ์ | 227 | 73 | 300 |
ตาก สุรินทร์ | 226 | 74 | 300 |
น่าน | 225 | 75 | 300 |
ศรีสะเกษ | 223 | 77 | 300 |
พะเยา | 222 | 78 | 300 |
Link : ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ปี 2555
ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง
เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ ๗)
ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างได้ออกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ ๗)
ลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม
พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไปนั้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้
คณะกรรมการค่าจ้างจึงขอชี้แจงให้ทราบทั่วกัน ดังนี้
๑. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หมายถึง อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดตามพระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงานพ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑
โดยคณะกรรมการค่าจ้างมีแนวคิดเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำว่า “เป็นอัตราค่าจ้างที่เพียงพอสำหรับแรงงาน
เพื่อพัฒนาฝีมือคน ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่สภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยมีมาตรฐาน
การครองชีพที่เหมาะสมตามความสามารถของธุรกิจในท้องถิ่นนั้น”
๒. การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งเป็นองค์กรไตรภาคี
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกอบด้วย ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง และผู้แทนฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายละ ๕ คนเท่ากัน
๓. สำหรับการออกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ ๗) ลงวันที่
๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ คณะกรรมการค่าจ้างได้ดำเนินการตามมติคณะกรรมการค่าจ้างเมื่อวันที่ ๑๗
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่มีมติเป็นเอกฉันท์ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใน ๗๐ จังหวัด เป็นวันละ ๓๐๐ บาท
เท่ากันทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ส่วน ๗ จังหวัดที่มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ
๓๐๐ บาทอยู่แล้วให้คงไว้ในอัตราเดิม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ภูเก็ต
สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ซึ่งคณะกรรมการค่าจ้างได้มีการประชุมหารือเมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
โดยได้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล และข้อเท็จจริงตามมาตรา ๘๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๕๑ เกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ
ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงานผลิตภัณฑ์มวลรวมของ
ประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม และสถานการณ์ภายหลังการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตาม
ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ ๖) ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ที่ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ซึ่งพบว่าการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้เป็น
อุปสรรคต่อการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ไม่ส่งผลกระทบต่อการประกอบการหรือการ
ลงทุนของภาคเอกชน ไม่ทำให้เกิดการว่างงานการเลิกจ้าง และปิดกิจการเพิ่มมากขึ้น แต่กลับทำให้แรงงาน
มีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีกำลังซื้อมากขึ้น และมีขวัญกำลังใจในการทำงานส่งผลให้ผลิตภาพ
แรงงานเพิ่มขึ้น
๔. การพิจารณาของคณะกรรมการค่าจ้างนี้อยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค และรับฟัง
ความคิดเห็นของทุกฝ่าย ผลการพิจารณาจะนำไปสู่ข้อยุติที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่าย เพื่อให้นายจ้าง
สามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้ ลูกจ้างสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข
๕. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามประกาศฉบับนี้ไม่มีผลบังคับใช้กับราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค
ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ นายจ้างที่จ้างลูกจ้างทำงาน
เกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไร
ในทางเศรษฐกิจ นายจ้างที่จ้างลูกจ้างในงานประมงทะเล นายจ้างที่จ้างลูกจ้างในงานบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้า
เรือเดินทะเล นายจ้างที่ตกลงจ้างผู้รับงานไปทำที่บ้าน นายจ้างที่จ้างลูกจ้างในงานเกษตรกรรมซึ่งมิได้จ้างลูกจ้าง
ทำงานตลอดปี หรือมิได้ให้ลูกจ้างทำงานในลักษณะที่เป็นงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากงานเกษตรกรรม ดังกล่าว
งานเกษตรกรรม ได้แก่ งานที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก เช่น การทำนำ ทำไร่ ทำสวน การปลูกพืช การเพาะพันธุ์
การตัด เก็บเกี่ยวพืชผล การทำนุบำรุงดินเพื่องานเพาะปลูก
งานที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ เช่น การเพาะเลี้ยงสัตว์ การขยายพันธุ์สัตว์ การจับสัตว์
การเก็บบรรดาสิ่งทั้งปวงที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของสัตว์
งานที่เกี่ยวกับการป่าไม้ เช่น การตัด ฟัน โค่น ลิด เลื่อย ผ่า ถาก ทอน ขุด
ชักลากไม้ในป่า การทำสวนป่า การเก็บหาของป่า
งานที่เกี่ยวกับการทำนาเกลือสมุทร หมายถึง การให้ได้มาซึ่งเกลือโดยการนำน้ำเค็มเข้านำ
หรือพื้นที่ราบ ซึ่งทำเป็นคันกั้นน้ำเป็นแปลง ๆ แล้วตากให้แห้งจนตกผลึกเป็นเกลือ
งานที่เกี่ยวกับการประมงที่มิใช่การประมงทะเล เช่น การเพาะพันธุ์ การขยายพันธุ์ การเลี้ยง
จับ ดัก ล่อ ทำอันตราย ฆ่า หรือเก็บสัตว์น้ำ รวมถึงการเตรียมและการซ่อมบำรุงเครื่องมือทำการประมงด้วย
๖. นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างเป็นเงินให้แก่ลูกจ้างทุกคนไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมาย
กำหนดไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะมีเชื้อชาติ สัญชาติ วัย หรือเพศใด สำหรับนายจ้างรายใดได้จ่ายค่าจ้างให้แก่
ลูกจ้างเท่ากับหรือสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ถือว่านายจ้างรายนั้นปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว ส่วนนายจ้างรายใดที่ยังจ่ายค่าจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้ปรับค่าจ้างให้เท่ากับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตาม ท้องที่ที่สถานประกอบกิจการดำเนินการอยู่
๗. อัตราค่าจ้างขั้นต่ำนี้มุ่งที่จะคุ้มครองแรงงานเพื่อพัฒนาฝีมือที่เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่ในปี ๒๕๕๖
เพื่อให้แรงงานเข้าใหม่เหล่านี้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสมควรแก่ภาวะการครองชีพในปี ๒๕๕๖ สำหรับ
แรงงานที่เข้าสู่ตลาดแรงงานมาไม่น้อยกว่า ๑ ปี จะเป็นแรงงานที่มีทักษะฝีมือมากขึ้น มีผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น
นายจ้างควรพิจารณาปรับค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างมากกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
จึงชี้แจงมาเพื่อทราบ และขอความร่วมมือเจ้าของสถานประกอบกิจการปฏิบัติตามประกาศ
คณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ ๗) ดังกล่าวโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น